วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบน้ำแบบไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าและแสงอาทิตย์

มาดูฝายแม้วแบบคันดิน กักเก็บน้ำได้เยอะพอควร ลึกสองเมตรเศษๆ  กะใช้น้ำให้เกิดประโยชน์เต็มที่ ซื้อปั๊ม 3" 3 แรง ส่งน้ำขึ้นสูงไม่ได้ถึง 20 เมตรในแนวสูงเพราะไกลจากปั๊มร้อยกว่าเมตร ปั๊มส่งขึ้นสูงได้แค่ 10 เมตรเศษๆ แต่เป้าหมายที่ความสูงประมาณ 25 เมตร

น้ำไหลเข้าฝายตลอด เวลา 24 ชม เพราะเป็นคลองธรรมชาติ เลยต้องระบายด้วยท่อ PVC เพื่อไม่ให้น้ำล้นสันฝายเพราะจะทำให้ฝายขาด ตอนนี้ ปลา กุ้ง มีมาให้เห็นมากขึ้นแล้วครับ

นั่งคิดอยู่หลายวันว่าจะทำอย่างไรที่จะเอาน้ำที่ระบายทิ้งขึ้นไปใช้ให้ เกิด ประโยชน์โดยไม่ต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มเพราะปัจจุบันจ่ายค่าไฟจากการปั๊มน้ำรดผัก เดือนละกว่า 1500 บาท


เลยหาซื้ออุปกรณ์มาทดลองทำ Ramp pump ดู ทดลองอยู่หลายวัน ปรับแล้วปรับอีก ในที่สุดก็สำเร็จ สามารถส่งน้ำขึ้นสูงถึงกว่า 30 เมตร โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นใดเลย ผมเรียกปั๊มที่ทำขึ้นเองตัวนี้ว่า "ต๊อกแต๊ก" เรียกตามเสียงที่เค้าทำงานแบบปิดเปิดตลอด 24 ชม.




ปั๊ม ต๊อกแต๊ก ชุดทดลองสามารถส่งน้ำได้สูงถึงกว่า 30 เมตร ได้น้ำนาทีละ 4 ลิตรเศษ ชม.ละ 240 ลิตร หรือกว่า 5760 ลิตรต่อวัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าพลังงานใดๆทั้งสิ้น โดยใช้หลักการของแรงดันน้ำกับอากาศดันน้ำให้ขึ้นสู่ที่สูงได้ถึง 40-50 เมตรขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพพื้นที่


"สนใจยังไงสอบถามได้นะครับ หรือหาดูรายละเอียดได้ตามเวปต่างๆก็ได้นะครับ"

ที่มา ADS.Ranch

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เกษตรฝากซื้อ พริกเดือยไก่ชี

พริกเดือยไก่ชี

เริ่มเก็บตั้งแต่ผลสีส้ม

ไม่เก็บเน่า ไม่เก็บหนอน ไม่เก็บขั้วดำ

รับซื้อพริกเดือยไก่ชีราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท เกษตรกรท่านใดที่ต้องการขายกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 083-5433669 เจ้รินทร์

เกษตรฝากขาย ผักชีปลอดสารจาก ADS.RANCH

ผักชีปลอดสารจาก ADS.RANCH

ความสมบูรณ์ของรุ่นแรก

แปลงผักชี

แปลงผักชีอายุ 40 วัน

หากท่านใดห่วงใยสุขภาพสนใจผักชีปลอดสารสามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 087-1487441 ผู้จัดการไร่

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวัง

1. อัลดิคาร์บ (aldicarb)
2. บลาสติซิดิน เอส (blasticidin-SX
3. คาร์โบฟูราน (carbofuran)
4. ไดโครโตฟอส (dicrotophos)
5. อีพีเอ็น (EPN)
6. อีโธโปรฟอส (ethoprofos)
7. โฟรมีทาเนต (fromethanate)
8. เมทิดาไธออน (methidathion)
9. เมโทมิล (methomyl)
10. อ๊อกซามิล (oxamyl)

ที่มา:http://www.bayercropscience.co.th

รายชื่อวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ทางการเกษตรในประเทศไทย

1. ออลดริน (aldrin)
2. อะมิโนคาร์บ (aminocarb)
3. 4-อะมิโนไตฟีนิล (4-aminodiphenyl)
4. อะมิโทรล (amitrole)
5. อะราไมท์ (aramite)
6. แอสเบสทอล อะโมไซท์ asbestos - amosite)
7. อะซินฟอส เอทธิล (azinphos - ethyl)
8. อะซินฟอส เมทธิล (azinphos - methyl)
9. เบนซิดิน (benzidine)
10. เบต้า เอชชีเอช (beta - HCH) 1,3,5/2,4,6 – hexachloro- cyclohexane)
11.บีเอชชี หรือ เอชชีเอช (BHC หรือ HCH) (1,2,3,4,5,6 - hexachloro-cyclohexane)
12.ไบนาพาคริล (binapacryl)
13.บีส คลอร์โรเมทธิลอีเธอร์ (bis (chloromethyl)ether)
14.โบรโมฟอส (bromophos)
15.โบรโมฟอส เอทธิล (bromophos-ethyl)
16.แดดเมียม และสารประกอบแคดเมียม (cadmium and cadmium compounds)
17.แคลเซียมอาร์ซีเนท (calcium arsenate)
18.แคปตาโฟล (captafol)
19.คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride)
20.คลอร์เดน chlordane)
21.คลอร์ดีโซน (chlordecone)
22.คลอร์ไดมีฟอร์ม (chlordimeform)
23.คลอร์โรเบนซิเลท (chlorobenzilate)
24.คลอร์โรฟีนอล (chlorophenols)
25. คลอร์ไธโอฟอส (chlorthiophos)
26. คอปเปอร์ อาร์ซีเนทไฮดร็อกไซด์ (copper arsenate hydroxide)
27. ไซโคลเฮกซิไมด์ (cycloheximide)
28. ไซเฮกซาติน (cyhexatin)
29. ดามิโนไซด์ (daminozide)
30. ดีบีซีพี (DBCP) (1,2-dibromo-3-chloropropane)
31. ดีดีที (DDT) (1,1,1-trichloro-2,2-bis (4-chlorophenyl ethane)
32. ดีมีฟีออน (demephion)
33. ดีมีตอน (demeton)
34. ไดคลอร์โรเบนซิน (o-dichlorobenzene)
35. ดีลดริน (dieldrin)
36. ไดมีฟอกซ์ (dimefox)
37.ไดโนเส็บ (dinoseb)
38.ไดโนเทิร์บ (dinoterb)
39.ไดซัลโฟตอน (disulfoton)
40. ดีเอ็นโอซี (DNOC) (4,6-dinitro-o-cresol)
41. อีดีบี (EDB) (1,2-dibromoethane)
42. เอ็นดริน (endrin)
43. เอทธิล เฮกซิลีนไกลคอล (ethyl hexyleneglycol (ethyl hexane diool))
44. เอทธีลีนไดคลอร์ไรด์ (ethylene dichloride)
45. เอทธีลีนออกไซด์ (ethylene oxide (1,2-epoxyethane))
46. เฟนซัลโฟไธออน (fensulfothion)
47. เฟนทิน (fentin)
48. ฟลูออโรอะเซทตาไมด์ (fluoroacetamide)
49.ฟลูออโรอะซีเตทโซเดียม (fluoroacetate sodium)
50.โฟโนฟอส (fonofos)
51.เฮปตาคลอร์ (heptachlor)
52.เฮกซะคลอร์โรเบนซีน (hexachlorobenzene)
53.ตะกั่วอาร์ซีเนท (lead arsenate)
54.เลปโตฟอส (leptophos)
55.ลินเดน (lindane (>99% gamma-HCH หรือ gamma- BHC)
56.เอ็มซีพีบี (MCPB) [4-(4-chhloro-o-tolyloxy) butyric acid]
57.มิโคครอป (mecoprop)
58.มีฟอสโฟลาน (mephosfolan)
59.สารประกอบของปรอท (mercury compounds)
60. เมวินฟอส (mevinphos)
61 .เอ็มจีเครีเพลเลนท์ 11 (MGK repellent - 11)
62. ไมเร็กซ์ (mirex)
63. โมโนโครโตฟอส (monocrotophos)
64. แนฟธิลอะมีน (napthylamine)
65.4-ไนโตรไดเฟนิล (4-nitrodiphenyl)
66. ไนโทรเฟน (nitrofen)
67. พาราไทออน (parathion)
68. ปารีสกรีน (Paris green)
69. โซเดียมเพนตะคลอร์โรฟีเนต หรือ โซเดียมเพนตะคลอร์โรฟีนอกไซด์ (pentachlorophenate sodium หรือ pentachlorophenoxide sodium)
70. เพนตะคลอร์โรฟีนอล (pentachlorophenol)
71.ฟีโนไทออน (phenothiol)
72.โฟเรท (phorate)
73.ฟอสฟามิดอน (phosphamidon)
74.ฟอสฟอรัส (phosphorus)
75.โพลีบรอมมิเนต ไบเฟนิล (polybrominated biphenyls, PBBs)
76. โพลีคลอร์ริเนต ไตรเฟนิล (polychlorinated triphenyls, PCTs)
77. โปรโทเอท (prothoate)
78. ไพรินูรอน (ไพริมินอล) (pyrinuron (piriminil))
79. แซพโรล (safrole)
80.สะคราแดน (schradan)
81.โซเดียมอาร์ซีไนต์ (sodium arsenite)
82.โซเดียมคลอเรต (sodium chlorate) ยกเว้นในรูปผลิตภัณฑ์ที่ผสมสาร หน่วงปฏิกิริยาตามที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ประกาศกำหนด
83.สโตรเบน (โพลีคลอร์โรเทอร์พีน) (strobane (polychloroterpenes))
84. ซัลโฟเทป (sulfotep)
85. 2,4,5-ที (2,4,5-T) ([2,4,5-trichlorophenoxyl] acetic acid)
86. 2,4,5-ทีซีพี (2,4,5-TCP) (2,4,5-trichlorophenol)
87. ทีดีอี หรือ ดีดีดี (TDE หรือ DDD) [1,1-dichloro- 2,2-bis (4-chlorophenyl) ethanel)
88. ทีอีพีพี (TEPP) (tetraethyl pyrophosphate)
89. 2,4,5,-ทีพี (2,4,5-TP) ((+)-2-[2,4,5-trichlorophenoxy] propionic acid)
90. แทลเลียมซัลเฟต (thallium sulfate)
91. ทอกซาฟีน หรือ แคมฟีคลอร์ (toxaphene หรือ camphechlor)
92. ไตร 2,3-ไดโบรโมโปรพิล ฟอสเฟต (tri (2,3- dibromopropyl) phosphate)
93. ไวนิลคลอร์ไรด์โมโนเมอร์ (โมโนคลอร์โรอีธีน)(vinyl chloridemonomer (monochloroethene))
94. เมธามิโดฟอส (methamidophos)
95. เอ็นโดซัลแฟน (endosulfan)
96. พาราไธออน เมทิล (parathion methyl)

ที่มา:http://www.bayercropscience.co.th